คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 96/2563
ตามพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ. ศ. 2551 มาตรา 10 วรรคแรก บัญญัติว่า
“บทบัญญัติ แห่งกฎหมายที่บังคับให้นิติกรรมใดต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้นั้น มิให้นำมาใช้บังคับแก่ผู้บริโภคในการฟ้องร้อง บังคับให้ผู้ประกอบธุรกิจชำระหนี้”
และวรรคสามบัญญัติว่า “ในการดำเนินคดีตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง มิให้นำมาตรา 94 แห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับ ในการฟ้องผู้บริโภค และพิสูจน์ถึงนิติกรรมหรือสัญญา ที่ทำขึ้นระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ” หมายถึง การดำเนินคดีผู้บริโภครวมถึงในกรณีที่ ผู้บริโภคถูกฟ้อง มิให้นำมาตรา 94 แห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับ ผู้บริโภคสามารถนำพยานบุคคล มาสืบหักล้างเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารสัญญากู้ได้
- โจทก์เองรับว่าให้จำเลยกู้โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน
- แล้วรับว่า จำเลยชำระดอกเบี้ยดังกล่าวมาให้โจทก์ 1 ปีแล้ว ซึ่งเป็นการคิดดอกเบี้ยเงินกู้เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นการฝ่าฝืนพ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ. ศ. 2457 มาตรา 3 ประกอบ ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์มาตรา 654
- มีผลให้ดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นโมฆะ เท่ากับสัญญากู้ยืมเงิน ดังกล่าวมิได้มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้
- และสำหรับคดีผู้บริโภคถือไม่ได้ว่าจำเลยชำระหนี้โดยจงใจฝ่าฝืนข้อห้าม ตามกฎหมายหรือเป็นการกระทำอันใด ที่อำเภอใจ เสมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้ว่าตนไม่มีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องชำระ อันเป็นเหตุให้จำเลยไม่มีสิทธิ์ ได้รับคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 จึงต้องนำเงินที่จำเลยชำระหนี้ ไปชำระต้นเงิน
ทค.ผ