ถูกนายจ้างเลิกจ้าง

# มีข้อพิพาทแรงงาน ลูกจ้างเลือกใช้สิทธิทางไปแจ้งพนักงานตรวจแรงงานดีหรือฟ้องศาลดีกว่า

พนักงานตรวจแรงงานเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ซึ่งพนักงานตรวจแรงงานจะทำหน้าที่คล้ายๆกับศาลแรงงาน แต่พนักงานตรวจแรงงานมีหน้าที่เฉพาะ ในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงิน อย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งจะมี ค่าจ้าง,ค่าล่วงเวลาและค่าชดเชย และหากลูกจ้างประสงค์ให้พนักงานตรวจแรงงานดำเนินการให้ ลูกจ้างก็ต้องไปยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแห่งท้องที่ที่ลูกจ้างทำงานอยู่หรือที่นายจ้างมีภูมิลำเนาอยู่ฯ … ในกรณีที่เกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตาม ดังกล่าวแล้ว และถ้าลูกจ้าง ถึงแก่ความตายให้ทายาทโดยธรรมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้


เมื่อลูกจ้างใช้สิทธิดังกล่าวแล้วทำให้พนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจ


-เรียกนายจ้างไปคุยกันได้
-ขอเอกสารหลักฐานต่างๆให้ส่งไปให้เป็นอำนาจของรัฐได้

-หลังจากนั้น จะสรุปข้อเท็จจริงจากทั้งสองฝั่ง คือ ฝั่งลูกจ้าง และฝั่งนายจ้าง


-จากนั้นออกคำสั่ง คือ สั่งให้ลูกจ้างได้รับ หรือ ไม่ได้รับเงินตามคำร้อ

-หากมีคำสั่งให้ให้นายจ้างต้องจ่ายเงิน ก็สั่งด้วยว่าให้ปฏิบัติตามคำสั่งภายในกำหนด 30 วัน


-ถ้าลูกจ้างหรือนายจ้างไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวเช่น สั่งให้ลูกจ้างไม่ได้รับเงินตามคำร้อง ลูกจ้างฟ้องเพิกถอนคำสั่งแล้วขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกจ้างได้รับได้

-หากสั่งให้นายจ้างจ่ายเงิน นายจ้างไม่เห็นด้วยก็ฟ้องเพิกถอนคำสั่ง แต่นายจ้างต้องวางเงินตามจำนวนในคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานต่อศาลด้วยมิฉะนั้นไม่มีอำนาจฟ้อง

ถ้าลูกจ้างไม่ไปร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน ลูกจ้างก็ฟ้องต่อศาลได้ทุกกรณี (ไม่มีข้อยกเว้น) ปัญหาที่ตามมาถ้าฟ้องคดีต่อศาลคือ

-คดีจำนวนเงินไม่มาก ไม่คุ้มค่าในการจ้างทนายความ


-ศาลมีนิติกรเขียนฟ้องให้ก็ตาม แต่ไม่มีนิติกรหรือทนายว่าความให้ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ต้องว่าจ้างทนายความอีกเช่นเดิม


-ขั้นตอนล่าช้ากว่าร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน แต่อำนาจมากกว่าคือเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วจะบังคับคดียึดทรัพย์สินจำเลยมาชายชำระหนี้ได้เลย (ถ้ามี )


สรุป มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันเล็กน้อย ท่านสามารถเลือกใช้สิทธิได้ทั้งสองช่องทางตามแต่ท่านสะดวกครับ แต่ไม่สมควรใช้สิทธิทั้งสองทางไปพร้อมกันเพราะซ้ำซ้อนและผลการวินิจฉัยอาจแต่ตางกันซึ่งจะไม่ได้ประโยชน์อันใดต่อท่านเลย

โทรหาเรา