การประกันตัวในชั้นศาล

แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ

ช่วงที่ 1 เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการนำตัวผู้ต้องหามาขอฝากขังต่อศาลและศาลอนุญาตให้ขังซึ่งถือว่าผู้ต้องหาอยู่ในอำนาจควบคุมของศาลแล้ว

ช่วงที่ 2  ช่วงที่ศาลประทับฟ้องของโจทก์ ผู้ต้องหามีสถานะเป็นจำเลยซึ่งต้องถูกควบคุมตัวอยู่ในอำนาจของศาล

หลักฐานที่ใช้

 – บัตรประจำตัวประชาชน บัตรข้าราชการ หรือบัตรแสดงตำแหน่งหน้าที่การงาน

 – ทะเบียนบ้านของจำเลยและผู้ประกัน พร้อมสำเนา

 – เงินสด

 – หลักทรัพย์ เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก) พร้อมหนังสือรับรองราคาประเมิน

 – บัญชีเงินฝากพร้อมหนังสือรับรองจากธนาคาร

 – หนังสือรับรองจากต้นสังกัดหรือนายจ้าง (กรณีขอประกันตัวด้วยตำแหน่งหน้าที่)

 – หนังสือยินยอมของคู่สมรส (กรณีผู้ขอประกันมีคู่สมรส)

หลักเกณฑ์ในการสั่งคำร้องขอประกัน

 เมื่อยื่นคำร้องขอประกันแล้ว ศาลจะพิจารณาเรื่องเหล่านี้ ประกอบในการพิจารณาสั่งคำร้อง คือ

  1. ความหนักเบาแห่งข้อหา
  2. พยานหลักฐานที่นำสืบแล้วมีเพียงใด
  3. พฤติการณ์ต่าง ๆ แห่งคดีเป็นอย่างไร
  4. เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด
  5. ผู้ต้องหาหรือจำเลยน่าจะหลบหนีหรือไม่
  6. ภัยอันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใด
  7. คำคัดค้านของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ

อ้างอิง: บัญชีมาตรฐานกลางสำหรับการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยของศาลอาญา

https://crimc.coj.go.th/th/content/category/detail/id/8285/iid/227615

…………………………………….

Cr. ทนายหน่อย ติดต่อเบอร์ 02-922-9288

โทรหาเรา