ผู้มีสิทธิยื่นขอประกันตัว ในชั้นพนักงานสอบสวน ได้แก่
ผู้ต้องหา บิดา มารดา บุตร
ญาติพี่น้อง คู่สมรส
ผู้บังคับบัญชา นายจ้าง
หลักฐานที่ต้องใช้
กรณีใช้หลักทรัพย์เป็นหลักประกัน
- บัตรประจำตัวประชาชน
- หลักทรัพย์ เช่น เงินสด โฉนดที่ดินพร้อมหนังสือรับรองราคาประเมิน สมุดเงินฝากประจำพร้อมหนังสือรับรองจากธนาคาร พันธบัตรรัฐบาล สลากออมสิน หนังสือยินยอมของคู่สมรส (กรณีผู้ขอประกันมีคู่สมรส)
กรณีใช้บุคคลเป็นหลักประกัน
ต้องมีตำแหน่งหน้าที่การงานหรือมีรายได้แน่นอน เช่น เป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการการเมืองหรือทนายความ และเป็นผู้มีความสัมพันธ์กับผู้ต้องหา เช่น บิดา มารดา บุตร ญาติพี่น้อง คู่สมรส ผู้บังคับบัญชา นายจ้าง โดยทำสัญญาประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 10 เท่า ของเงินเดือนหรือรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
ขั้นตอนการประกันตัว
- พบและยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวน (ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของคดีหรือไม่)
- เขียนคำร้องขอประกันตัวผู้ต้องหา
- รับหลักฐานการรับสัญญาประกัน (พนักงานสอบสวนต้องลงเวลารับคำร้อง)
- เจ้าพนักงานตำรวจจะแจ้งผลให้ทราบภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ยื่นคำร้อง
- การพิจารณาให้ประกันตัวหรือไม่ เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานตำรวจ โดยจะพิจารณาจาก
- ความหนักเบาแห่งข้อหา
- พยานหลักฐานที่สืบแล้ว
- พฤติการณ์แห่งคดี
- เชื่อถือผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกันได้เพียงใด
- ผู้ต้องหาน่าจะหลบหนีหรือไม่
- ภยันตรายหรือความเสียหายที่จะเกิดจากการปล่อยชั่วคราวมีเพียงใด
- หากพิจารณาอนุญาตให้ประกันตัว เจ้าพนักงานตำรวจจะลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน และยึดหลักทรัพย์ที่ยื่นประกันไว้
- หากไม่อนุญาต จะแจ้งให้ทราบและคืนหลักทรัพย์
……………………………………
Cr. ทนายหน่อย ติดต่อสอบถาม เบอร์ 02 922 9288 หรือ 099 158 3636