การจดทะเบียนรับรองบุตร

ทำไมต้องจดทะเบียนรับรองบุตร และใครที่จะต้องจดทะเบียนรับรองบุตร

เนื่องจากกฎหมายถือว่าเด็กซึ่งเกิดจากหญิงที่มิได้จดทะเบียนสมรสกับชาย เป็นบุตรที่ชอบด้วย
กฎหมายของหญิงแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1546 “เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น “

ดังนั้น เด็กที่เกิดมาจึงไม่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา แต่กฎหมายเปิดช่องทางที่จะทำให้บุตรนอกสมรสเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาอยู่ 3 วิธี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1547  “เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

1. เมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง

2. บิดาได้จดทะเบียนว่าเด็กเป็นบุตร

3. ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

แล้วการรับรองบุตรมันจะช่วย หรือว่าดีกว่าไม่รับรองยังไง ทำไมต้องจดรับรองบุตร

การรับรองบุตร เป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้บุตรนอกสมรสเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาได้ ซึ่งวิธีนี้บิดาสามารถจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรของตนโดยไม่ต้องจดทะเบียนสมรสกับมารดาของเด็ก โดยบิดาสามารถจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรของตนได้ แต่กฎหมายกำหนดเงื่อนไขในการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรต้องได้รับความยินยอมจากเด็กและมารดาของเด็ก โดยเด็กและมารดาต้องไปให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน แต่หากบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือทั้งสองไม่อาจให้ความยินยอมได้ เช่น มารดาถึงแก่ความตาย หรือเด็กไม่อาจแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้ เช่น อายุยังน้อยเกินไปการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548 “ บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก

ในกรณีที่เด็กและมารดาเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน ให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนของบิดาไปยังเด็กและมารดาเด็ก ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอมภายในหกสิบวันนับแต่การแจ้งนั้นถึงเด็กหรือมารดาเด็ก ให้สันนิษฐานว่าเด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กอยู่นอกประเทศไทยให้ขยายเวลานั้นเป็นหนึ่งร้อยแปดสิบวัน

ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล

เมื่อศาลได้พิพากษาให้บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ และบิดาได้นำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้

เอกสารที่ใช้

  1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง (บิดา) และมารดา
  2. ทะเบียนบ้านผู้ร้อง มารดา และบุตร 
  3. สูติบัตรบุตร
  4. ใบมรณบัตรมารดา (กรณีมารดาเสียชีวิต)
  5. หนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อ-ชื่อสกุล ของผู้ร้อง มารดา หรือบุตร (ถ้ามี)
  6. ใบสำคัญการหย่าของมารดา (กรณีมารดาเคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน)

เขตศาล/ระยะเวลาดำเนินการ

ยื่นคำร้องต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล หรือต่อศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล

นับแต่วันที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร ศาลจะนัดไต่สวนคำร้องไม่น้อยกว่า 45 วัน นับแต่วันยื่นคำร้อง และภายในเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องแล้ว ผู้ร้องจะต้องนำบุตรและมารดาของบุตรไปให้ถ้อยคำต่อผู้อำนวยการสถานพินิจฯ เพื่อประมวลและรายงานข้อเท็จจริงเสนอความเห็นต่อศาลประกอบในการพิจารณาคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร

ทค. หน่อย ติดต่อรับรองบุตรเบอร์ 02 922 9288, 094 415 6688

โทรหาเรา